Prakard2



Head-6

QuartzMean2

 

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542  หน้า 720  ได้ให้คำจำกัดความ คำว่า "โป่งข่าม" หมายถึง ชื่อเรียกแร่เขี้ยวหนุมาน  ใช้ทำเครื่องประดับ. 

 

*** สรุป ***

 

- ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปัจจุบัน ระบุเจาะจงแค่เพียงชนิดของแร่ แต่ไม่ได้ระบุเจาะจง / ไม่ได้กำหนดสถานที่ที่ค้นพบแร่เขี้ยวหนุมานแต่ประการใด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า แร่เขี้ยวหนุมานที่ถูกขุดพบไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใดๆก็ตาม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ คนไทยจะเรียกแร่เขี้ยวหนุมานนั้นว่า "โป่งข่าม"

 

นอกจากแก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคลทั้ง 24 ชนิดตามความเชื่อของชาวล้านนาโบราณ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คนไทยโบราณยังมีความเชื่อเกี่ยวกับคุณวิเศษของแก้วโป่งข่ามบางชนิด ซึ่งไม่ได้ถูกจัดรวมเข้ากลุ่มไว้ในแก้ว 24 ชนิดเมืองล้านนา แต่มีคุณวิเศษที่โดดเด่นไม่แพ้กัน อีกทั้งเป็นแก้วซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวและอยู่ในกลุ่มของควอซต์ (QUARTZ) โดยตรง จะขอกล่าวถึงเฉพาะบางส่วนไว้พอสังเขปดังนี้

แก้วเข้าแก้ว  

แก้วโป่งข่าม แก้วเข้าแก้ว   

แก้วเข้าแก้ว

เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ที่เกิดจากควอตซ์ผลึกใหญ่อมควอตซ์ผลึกเล็กเอาไว้ หรือที่เรียกกันว่า INTERGROWTH โดยควอตซ์ผลึกเล็กจะมีลักษณะเป็นก้อนหรือเป็นแท่ง อาจมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งภายในควอตซ์ผลึกใหญ่เพียงชิ้นเดียว อาจจะมีควอตซ์ผลึกเล็กอยู่ภายในมากกว่าหนึ่งก้อนหรือหนึ่งแท่งก็ได้ และอาจจะมีรูปทรงที่แตกต่างกันออกไปเป็นรูปลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งคนโบราณได้จำแนกประเภทของแก้วเข้าแก้ว ตามลักษณะภายในที่ได้พบเห็นไว้ดังนี้



 

แก้วเข้าแก้วเง่า

 
 

1. แก้วเข้าแก้วเง่า : ลักษณะของควอตซ์ผลึกเล็กที่อยู่ภายในแก้วตรงบริเวณโคนหรือฐานของผลึกจะงอก ติดกับผลึกใหญ่ด้านใดก็ได้ แต่ส่วนปลายยอดสุดของผลึกเล็กจะต้องไม่ชนกับส่วนใดส่วนหนึ่งของผลึกใหญ่

 

แก้วโป่งข่าม แก้วเข้าแก้วโทน

แก้วเข้าแก้วโทน

 
 
 

2. แก้วเข้าแก้วโทน : ลักษณะของควอตซ์ผลึกเล็กที่อยู่ภายในแก้ว จะไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดติดหรือชนกับพื้นผิวของควอตซ์ผลึกใหญ่เลย คล้ายกับผลึกเล็กลอยอยู่ในส่วนกลางของผลึกใหญ่

 
 

แก้วโป่งข่าม แก้วเข้าแก้วแฝด  

แก้วเข้าแก้วแฝด

 
 

3. แก้วเข้าแก้วแฝด : ลักษณะของควอตซ์ผลึกเล็กที่อยู่ภายในแก้ว จะมีอยู่สองผลึกติดกันซึ่งอาจจะงอกคู่ติดกับผลึกใหญ่ด้านใดด้านหนึ่งแบบแก้วเข้าแก้วเง่า หรือลอยคู่ติดกันอยู่ในส่วนกลางของผลึกใหญ่แบบแก้วเข้าแก้วโทนก็ได้


แก้วโป่งข่าม แก้วเข้าแก้วซ้อนแก้ว  

แก้วเข้าแก้วซ้อนแก้ว

 

 

 4. แก้วเข้าแก้วซ้อนแก้ว : ลักษณะของควอตซ์ผลึกเล็กที่อยู่ภายในแก้ว จะมีผลึกที่เล็กกว่าอยู่ด้านในอีกชั้นหนึ่งเป็นชั้นซ้อนกัน หรือที่เรียกกันว่า "แก้วผลึกซับซ้อน"

 

แก้วโป่งข่าม แก้วเข้าแร่ 

แก้วเข้าแร่

 
 
 

5. แก้วเข้าแร่ : ลักษณะของผลึกที่อยู่ภายในแก้วใหญ่จะไม่ใช่ผลึกควอตซ์ขนาดเล็ก แต่จะเป็นก้อนหรือแท่งแร่ชนิดอื่น ๆ เช่น PYRITE ซึ่งคนโบราณจะเรียกแก้วเข้าแก้วชนิดนี้ว่า  “แก้วเข้าแก้วสหชาติต่างสกุล” หรือ  “แก้วเข้าเป๊ก” หรือ “แก้วเข้าแร่”

 

 

แก้วโป่งข่าม แก้วเข้าแก้วสลักช่อ  

แก้วเข้าแก้วสลักช่อ

 6. แก้วเข้าแก้วสลักช่อ : มีลักษณะแตกต่างจากแก้วเข้าแก้วชนิดอื่น ๆ ตรงที่แร่ซึ่งอยู่ภายในแก้วใหญ่จะไม่เป็นผลึกควอตซ์ใส แต่มีลักษณะของเส้นแร่ยาวอยู่รวมกลุ่มกันเป็นช่อ โดยลักษณะของเส้นแร่แต่ละเส้น จะมีเส้นแร่ยาวเป็นแกนกลาง และมีเส้นแร่ขนาดที่เล็กกว่าแตกแขนงออกมาจากเส้นแร่แกนกลางตลอดทั้งเส้น คล้ายกับลักษณะของดอกหญ้าบางชนิด

 

ในด้านความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อกันว่าแก้วเข้าแก้วทุกชนิด มีคุณวิเศษสามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตของผู้ซึ่งได้ครอบครองแก้วไปในทางที่ดีขึ้นได้ ทำให้ประสบความสำเร็จในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านของการค้าการลงทุน และความสำเร็จในการติดต่อค้าขายหรือผลกำไร ตลอดจนช่วยเกื้อหนุนวาสนาบารมีให้กับผู้เป็นเจ้าของแก้วอีกด้วย

 

i163143957_88069_3
 
    

แก้วมังคละจุฬามณี


แก้วโป่งข่าม แก้วมังคละจุฬามณี1 

แก้วมังคละจุฬามณี(รูปเจดีย์)

เป็นแก้วซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของพลอยตระกูลควอตซ์หรือโป่งข่าม ที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวแตกต่างจากแก้วชนิดอื่นตรงที่ ลักษณะภายนอกของแก้วจะเป็นแก้วน้ำใสไม่จำกัดสี ซึ่งอาจจะเป็นสีเหลือง (CITRINE QUARTZ) , สีม่วง (AMETHYST QUARTZ) , สีชมพู (PINK QUARTZ) หรือสีน้ำตาลควันไฟ (SMOKY QUARTZ) ก็ได้ แต่ลักษณะภายในแก้วจะต้องมีมลทินแร่เป็นรูปมงคลตามคติความเชื่อทางศาสนา เช่น รูปพระพุทธเจ้า , รูปพระปรางค์ สถูป หรือเจดีย์ , รูปต้นโพธิ์ หรือรูปใบโพธิ์ ตลอดจนรูปสัตว์ซึ่งถือว่าเป็นมงคล (สัตว์ในป่าหิมพานต์หรือสัตว์ในวรรณคดี) เช่น รูปหงส์ , รูปปักษาวายุภักษ์ (นกการเวก) , รูปนกกระเรียน , รูปช้าง , รูปราชสีห์ เป็นต้น

แก้วโป่งข่าม แก้วมังคละจุฬามณี 

แก้วมังคละจุฬามณี (รูปปักษาวายุภักษ์)

ในด้านความเชื่อ แก้วมังคละจุฬามณีจัดเป็นแก้วประเภทที่หายาก เพราะเป็นแก้วที่เกิดขึ้นโดยความบังเอิญตามธรรมชาติเท่านั้น คนโบราณถือว่าเป็นแก้วที่เทพยดาได้สร้างขึ้น และดลบันดาลให้เกิดรูปมงคงต่าง ๆ ขึ้นภายในแก้ว จึงเชื่อกันว่าเป็นแก้วที่ให้คุณเหลือคณานับ หากผู้ใดได้ครอบครองแก้วมังคละจุฬามณี จะรอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง อีกทั้งจะเกิดโชคลาภตลอดจนความสุขความเจริญในชีวิตและหน้าที่การงาน

 

 
 
 

  i163143957_88069_3

แก้วสามกษัตริย์  

เป็นแก้วโป่งข่ามซึ่งภายในแก้วประกอบไปด้วยมลทินแร่ 3 ลักษณะ กล่าวคือ

แก้วโป่งข่าม แก้วสามกษัตริย์

แก้วสามกษัตริย์สกุลเดียวกัน


1. มลทินแร่สกุลเดียวกัน หมายถึง มลทินแร่ซึ่งอยู่ภายในแก้ว เป็นชนิดเดียวกันทั้งหมด เพียงแต่มีสีสันที่แตกต่างกันออกไปถึงสามสี (สีอะไรก็ได้ไม่จำกัด) แก้วสามกษัตริย์ชนิดนี้ส่วนใหญ่ จะพบได้ในแก้วโป่งข่ามประเภทแก้วปวก และแก้วทราย เช่น แก้วปวก (ปวกแดง + ปวกเขียว + ปวกขาว หรือ ปวกขาว + ปวกเหลือง + ปวกแดง เป็นต้น) , แก้วทราย (ทรายแดง + ทรายขาว + ทรายเขียว เป็นต้น)

แก้วโป่งข่าม แก้วสามกษัตริย์ 

แก้วสามกษัตริย์ต่างสกุล

2. มลทินแร่สกุลต่างกันหมายถึง มลทินแร่ซึ่งอยู่ภายในแก้ว ไม่ได้เป็นชนิดเดียวกันทั้งหมดหรืออาจจะเป็นชนิดเดียวกันสองในสามก็ได้ เช่น แก้วปวกแดง + แก้วปวกเขียว + แก้วไหมเงิน หรือ แก้วเข้าแก้ว + แก้วทราย + แก้วไหมทอง เป็นต้น

 

ในความเชื่อ เชื่อกันมาแต่โบราณว่า แก้วสามกษัตริย์เป็นแก้วที่รวมเอาแร่ ทั้งที่เป็นแร่ในสกุลเดียวกันและสกุลต่างกัน มารวมไว้ในแก้วเดียวกัน จึงเป็นแก้วที่ให้คุณในเรื่องของความบริบูรณ์มั่งคั่งทางทรัพย์สินเงินทอง และโชคลาภมากมายต่อผู้ซึ่งเป็นเจ้าของแก้ว

 

 
i163143957_88069_3
   
 
แก้วปวก
แก้วโป่งข่าม แก้วปวก

เป็นควอตซ์น้ำใส ซึ่งภายในมีมลทินแร่ประเภทคลอไรท์ (CHLORITE) อยู่ภายในแก้ว โดยมีลักษณะคล้ายกับรังปลวกที่อยู่ใต้ดิน คนโบราณจึงตั้งชื่อเรียกโป่งข่ามชนิดนี้ว่า “แก้วปวก” (รังปลวกที่อยู่ใต้ดิน มีลักษณะคล้ายกับกอปะการังใต้ทะเล) แก้วปวกที่พบเห็นโดยส่วนใหญ่มักจะมีโทนสีหลายสีเช่น โทนสีแดง (สีแดงเข้มออกสีเลือดหมูไปจนถึงสีแดงสด) , โทนสีเหลือง (สีเหลืองเข้มอมส้มไปจนถึงสีเหลืองอ่อน) , สีเขียว , สีน้ำตาล , สีชมพู และ สีขาว ภายในแก้วชิ้นเดียวกันอาจจะมีสีมากกว่าหนึ่งสีอยู่ภายในแก้วก็ได้ หรืออาจจะมีตะกอนแร่ชนิดอื่นผสมรวมอยู่ก็ได้ แต่ถ้ามีสีถึงสามสีจะเรียกกันว่า “แก้วสามกษัตริย์”

ในด้านความเชื่อ คนโบราณเชื่อกันว่าแก้วปวก เป็นแก้วที่ให้คุณในด้านของการคุ้มครองป้องกันภัยโดยตรง และจะช่วยให้เกิดโชคลาภในระหว่างการเดินทางอีกด้วย จึงเป็นแก้วที่เหมาะสมสำหรับท่านที่มีอาชีพเคลื่อนไหวหรือต้องเดินทางไกล เป็นประจำอยู่เสมอ

 
 
i163143957_88069_3
 
 
แก้วทราย

 

เป็นควอตซ์น้ำใสแบบเดียวกันกับแก้วปวก เพียงแต่มลทินแร่ภายในแก้วมีลักษณะเป็นเม็ดทรายละเอียด ซึ่งมีสีสันต่าง ๆ หลายโทนสีเช่นเดียวกันกับแก้วปวก ในทางสากลเรียกแก้วทรายว่า AVENTURINE QUARTZ หรือแร่ควอตซ์ที่มีสะเก็ดเป็นประกายระยิบระยับของแร่ไมก้า(MICA) ฮีมาไทต์(HEMATILE) ภายในแก้วทรายชิ้นเดียวกัน อาจจะมีสีมากกว่าหนึ่งสี หรืออาจจะมีแร่ชนิดอื่นผสมรวมอยู่ก็ได้ แต่ถ้ามีสีถึงสามสีจะเรียกกันว่า “แก้วสามกษัตริย์” ในด้านความเชื่อเกี่ยวกับแก้วทราย เหมือนกันกับแก้วปวกทุกประการกล่าวคือเป็นแก้วที่ให้คุณในด้านคุ้มครอง ป้องกัน และดลบันดาลให้เกิดโชคลาภในการเดินทางอีกด้วย

แก้วโป่งข่าม แก้วทราย

  

i163143957_88069_3
 
 
 
คำเตือน : เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่มบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ
 
 

 

BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll

เมนูหลัก

WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers
free web counter