Prakard2

buttonclick2

 

head-8

ประวัติวัดชนะสงคราม

พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์คะแนน  
พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์คะแนน (พิมพ์พิเศษ) ฐานสามชั้น
 

วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่เหนือคลองโรงไหม ริมถนนจักรพงษ์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ จัดเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานของผู้สร้าง แต่เดิมเรียกกันว่า "วัดกลางนา" 

ต่อมา สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้นมาใหม่ โดยให้ช่างปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างภายในวัด ให้คล้ายคลึงกับสิ่งก่อสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาให้มากที่สุด

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดจาก "วัดกลางนา" เปลี่ยนเป็น "วัดตองปุ" เพื่อมอบให้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ อันเป็นเกียรติแก่ทหารชาวรามัญ ในกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการสู้รบกับพม่า ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๓๓๐ ภายหลังจากที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงได้รับชัยชนะจากการทำสงครามที่นครลำปาง (ป่าซาง) แล้ว จึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดตองปุเพิ่มเติม แล้วถวายให้เป็นพระอารามหลวงชั้นโท จากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะในการสู้รบกับพม่าถึง ๓ ครั้ง

 

มูลเหตุในการค้นพบกรุพระเครื่องพิมพ์สมเด็จ

พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์สมเด็จอรหังเกศชนซุ้ม (พิมพ์อกตัน)  
พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์สมเด็จอรหังเกศชนซุ้ม (พิมพ์อกตัน)
 

 

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ ทางวัดชนะสงครามได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระประธานในพระอุโบสถ , พระอัครสาวก , พระเรียง , และพระมหาสังกัจจายน์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ พร้อมทั้งให้ช่างทำการปรับพื้นที่ฐานวางพระใหม่ ในการบูรณะซ่อมแซมครั้งนี้ ใช้ระยะเวลายาวนานหลายปี เนื่องจากพระอุโบสถถูกใช้ประกอบกิจกรรมทางศาสนาอยู่เสมอ และใช้เป็นสถานที่ถวายอาหารเพลแด่พระเณรซึ่งมาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม เป็นเหตุให้เวลาการทำงานของช่างในแต่ละวันมีน้อยและไม่ต่อเนื่อง 

พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์พระนางพญา (พิมพ์พิเศษ) ล้อพิมพ์พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ จ.สุโขทัย  
พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม  (พิมพ์พิเศษ) พระพิมพ์นางพญา และ พระพิมพ์คะแนน

 

จนกระทั่ง ในวันอังคารที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๕ ช่วงเวลาขณะที่พระเณรกำลังฉันเพล ช่างซึ่งรับหน้าที่ปรับแต่งพื้นที่ใต้ฐานชุกชีซึ่งประดิษฐานพระประธาน ได้มาแจ้งกับพระพี่เลี้ยงที่กำลังดูแลพระนักศึกษาในระหว่างฉันเพลว่า ได้พบพระเครื่องพิมพ์สมเด็จขนาดเล็ก ขุดติดปลายเสียมขึ้นมาจากดินใต้ฐานชุกชี บริเวณด้านหลังขององค์พระประธาน ทางวัดจึงสั่งให้ช่างค่อยๆขุดต่อไปด้วยความระมัดระวัง เมื่อช่างทำการขุดลึกลงไปได้ประมาณ ๑ ศอก ก็ได้พบพระพิมพ์สมเด็จอีกจำนวนมาก (ประมาณ ๑๐,๐๐๐ องค์) พร้อมทั้งพบโถสมัยสุโขทัย ซึ่งภายในบรรจุพระเครื่องพิมพ์พิเศษปิดทองอีกจำนวน ๓๕ องค์ โดยพระเครื่องพิมพ์สมเด็จที่ขุดพบส่วนใหญ่ มีลักษณะรวมกลุ่มติดกันเป็นก้อนๆ แต่ละก้อนจะมีพระสมเด็จเกาะติดกันอยู่ประมาณ ๕๐ - ๖๐ องค์ โดยพระสมเด็จบางองค์นั้นมีลักษณะเนื้อผุยุ่ยฟู เมื่อได้แกะพระพิมพ์ออกจากกันแล้ว พระที่เนื้อยุ่ยฟูส่วนใหญ่จะชำรุดเสียหาย ในลักษณะพิมพ์พระลอกมองไม่เห็นองค์พระ ที่สภาพสมบูรณ์จริงๆนั้น มีเหลืออยู่เพียงส่วนน้อย (ประมาณ ๕,๒๕๐ กว่าองค์) และมักจะมีคราบกรุสีคล้ายเนยเหลวฉาบอยู่บนผิวพระ บ้างก็มีลักษณะเป็นเม็ดผดและตุ่มไขแต่แข็ง มีทั้งสีขาวและสีเหลือง กระจายกันอยู่ทั่วไปตามพื้นผิวของพระบริเวณชั้นนอก   

จำนวน และ แบบพิมพ์ของพระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม  

พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์พระนางพญา (พิมพ์พิเศษ) ล้อพิมพ์พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ จ.สุโขทัย  
พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์พระนางพญา (พิมพ์พิเศษ) ล้อพิมพ์พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ จ.สุโขทัย
 

 

 

ภายหลังจากที่ทางวัด ซึ่งนำโดยพระมหาประชุม (ป.ธ.๘) ตำแหน่งเลขาธิการเจ้าอาวาสขณะนั้น ได้ทำการคัดแยกพระสมเด็จซึ่งมีสภาพดี ออกจากพระที่ชำรุดเสียหายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พบว่า ได้พระสมเด็จซึ่งมีสภาพสมบูรณ์จำนวนทั้งสิ้น ประมาณ ๕,๒๕๐ กว่าองค์ สามารถจำแนกแบบพิมพ์พระสมเด็จที่ขุดพบได้ทั้งหมดจำนวน ๘ พิมพ์ใหญ่ ๆ ดังนี้

๑.) พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ฐานสามชั้น
๒.) พระสมเด็จพิมพ์เล็กฐานสามชั้น
๓.) พระสมเด็จอรหังพิมพ์เกศชนซุ้ม : มีด้วยกัน ๒ แบบพิมพ์ คือ
- พิมพ์อกร่อง
- พิมพ์อกตัน
๔.) พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม
๕.) พระสมเด็จพิมพ์คะแนน (พิมพ์พิเศษ) ฐานสามชั้น
๖.) พระสมเด็จพิมพ์คะแนน (พิมพ์พิเศษ) ฐานห้าชั้น
๗.) พระสมเด็จพิมพ์จิ๋ว (พิมพ์พิเศษ) ฐานห้าชั้น
๘.) พระสมเด็จพิมพ์นางพญา (พิมพ์พิเศษ) ล้อพิมพ์พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ จ.สุโขทัย
  

เปรียบเทียบ 1 (พระแท้/พระปลอม) พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์สมเด็จอรหังเกศชนซุ้ม  
พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์เล็กฐานสามชั้น
 

 

 

 

โดยพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ฐานสามชั้น , พระสมเด็จพิมพ์เล็กฐานสามชั้น , พระสมเด็จอรหังพิมพ์เกศชนซุ้ม , และพระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม ทั้ง ๔ พิมพ์นี้ มีจำนวนนับรวมกันได้ทั้งสิ้นประมาณ ๔,๐๐๐ กว่าองค์ ส่วนพระสมเด็จพิมพ์คะแนน (พิเศษ) ฐานสามชั้น , และพระสมเด็จพิมพ์คะแนน (พิเศษ) ฐานห้าชั้น มีจำนวนรวมกันทั้งสิ้นประมาณ ๑,๐๐๐ องค์ สำหรับพระสมเด็จพิมพ์จิ๋ว (พิเศษ) ฐานห้าชั้น มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ ๒๐๐ กว่าองค์ นอกจากนี้ ยังมีพระสมเด็จพิมพ์คะแนน (พิเศษ) ทั้งฐานสามชั้นและฐานห้าชั้น ซึ่งปิดทองเดิมมาจากในกรุ แล้วนำมาบรรจุไว้ในโถสมัยสุโขทัยอีกจำนวน ๓๕ องค์ ส่วนพระสมเด็จพิมพ์นางพญา (พิมพ์พิเศษ) นั้นไม่ทราบจำนวนการสร้างที่ชัดเจน เนื่องจากพบในจำนวนที่น้อยมากเพียงไม่กี่องค์เท่านั้น โดยยอดรวมของพระสมเด็จทั้ง ๘ พิมพ์รวมกัน จึงมีจำนวนเบ็ดเสร็จทั้งสิ้นประมาณ ๕,๒๕๐ กว่าองค์  

 

 
เปรียบเทียบ 2 (พระแท้/พระปลอม) พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์สมเด็จอรหังเกศชนซุ้ม  
เปรียบเทียบ (พระแท้/พระปลอม) พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์สมเด็จอรหังเกศชนซุ้ม
 

 

 

 

เมื่อทางวัดได้ทำการคัดแยกพระสมเด็จกรุนี้เสร็จสิ้นแล้ว สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ซึ่งช่วงเวลาขณะนั้น ท่านได้ครองสมศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ (ท่านเจ้าคุณพระเทพโสภณ) ได้สั่งการให้นำพระสมเด็จที่ขุดได้จากกรุนี้ ไปแจกให้กับผู้ที่มาฟังเทศน์มหาชาติประจำปีที่วัดชนะสงคราม ในวันศุกร์ที่ ๑ และวันเสาร์ที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๕ จำนวนคนละ ๑ องค์ หลังจากเสร็จสิ้นวันงานเทศน์มหาชาติประจำปี ทางวัดชนะสงคราม ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เช่าบูชาพระสมเด็จกรุนี้ พร้อมทั้งทางวัดได้ออกใบอนุโมทนาบุญ ให้กับประชาชนที่มาทำบุญเช่าพระสมเด็จในคราวนั้นด้วย


เกี่ยวกับอายุความเก่าของพระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม

      
เปรียบเทียบ 3 (พระแท้/พระปลอม) พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์สมเด็จอรหังเกศชนซุ้ม  
เปรียบเทียบ 3 (พระแท้/พระปลอม) พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์สมเด็จอรหังเกศชนซุ้ม
 

ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพระเครื่องพิมพ์สมเด็จ ซึ่งถูกขุดค้นพบจากกรุฐานชุกชีใต้องค์พระประธานในพระอุโบสถวัดชนะสงคราม ถูกสร้างขึ้นเมื่อใดและใครเป็นผู้ที่สร้างแล้วนำมาบรรจุไว้ มีเพียงแต่ข้อสัณนิษฐาน จากผู้เชี่ยวชาญด้านพระเครื่องหลายท่าน ต่างลงความเห็นตรงกัน โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของเนื้อพระ แบบพิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งธรรมชาติของคราบกรุ ซึ่งน่าจะมีอายุความเก่าที่มากกว่าพระเครื่องสมเด็จวัดระฆัง และพระเครื่องสมเด็จวัดบางขุนพรหม จึงสัณนิษฐานกันว่า พระเครื่องพิมพ์สมเด็จกรุวัดชนะสงครามนี้ น่าจะถูกสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.๒๓๖๐ หรืออาจจะก่อนหน้านั้น ซึ่งตรงกับยุคสมัยของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน. 

 

พระสมเด็จกรุวัดชนะสงครามของปลอม

 

พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์สมเด็จอรหังเกศชนซุ้ม (พิมพ์อกร่อง)  
พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์สมเด็จอรหังเกศชนซุ้ม (พิมพ์อกร่อง)
 

ในช่วงปลายปี พ.ศ.2552 พบว่า เริ่มมีการทำปลอมแปลงพระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม โดยเฉพาะพระพิมพ์สมเด็จอรหัง (เกศชนซุ้ม) ออกมาสู่สนามพระบางแห่งแล้ว และสามารถทำปลอมออกมาได้ดี ในระดับที่ใกล้เคียงกันกับพระสมเด็จฯซึ่งเป็นของแท้อย่างมาก โดยผู้ที่ทำการปลอมแปลงพระ ได้นำเอาพระพิมพ์สมเด็จอรหัง (เกศชนซุ้ม) ซึ่งเป็นพระของแท้ มากดทำเป็นแม่พิมพ์ ด้วยเหตุนี้พิมพ์ทรงและตำหนิทุกอย่าง จึงตรงกันกับพระพิมพ์สมเด็จอรหัง (เกศชนซุ้ม) ที่เป็นพระของแท้ทุกประการ เพียงแต่รายละเอียดปลีกย่อยทางด้านขอบพิมพ์ด้านข้างของพระปลอมทุกองค์ จะปรากฏให้เห็นเป็นลักษณะพระขอบพิมพ์เกินเล็กน้อย หรือพระขอบพิมพ์เขยื้อน (ซึ่งเกิดจากการนำพระแท้มากดทำเป็นแม่พิมพ์นั่นเอง) และรายละเอียดของเนื้อหามวลสารบนพื้นผิวพระชั้นนอก ก็ยังทำปลอมออกมาได้ไม่เหมือนซะทีเดียวนัก กล่าวคือ พระที่เป็นของปลอมทุกองค์ เนื้อพระจะมีลักษณะยุ่ยฟูเกินจริง คล้ายกับเนื้อหาของพระสมเด็จวัดเกศไชโยรุ่นประวัติศาสตร์ พ.ศ.2531 อีกทั้งพื้นผิวของพระปลอมจะแลดูสะอาดมาก เป็นสีขาวตุ่นๆเหมือนดินสอพอง คราบกรุสักนิดก็ไม่มีให้เห็น คล้ายกับพระสมเด็จฯที่สร้างขึ้นใหม่ทั่วๆไป ซึ่งไม่ได้ผ่านการบรรจุกรุ 

เปรียบเทียบคราบกรุของพระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม  
เปรียบเทียบคราบกรุของพระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม
 

 

 

นอกจากนี้ในพระปลอมบางองค์ ผู้ที่ทำการปลอมแปลง ยังได้มีการทำคราบกรุปลอม ไว้ที่ชั้นนอกบนพื้นผิวพระประกอบด้วยเพื่อให้ดูสมจริง โดยคราบกรุปลอมที่ถูกทำขึ้นมาส่วนใหญ่ จะมีลักษณะเป็นเหมือนคราบรอยเปื้อนเรียบๆธรรมดา ต่างจากคราบกรุพระของแท้ ซึ่งมีลักษณะฉาบเคลือบอยู่บริเวณผิวพระชั้นนอก และในพระแท้บางองค์ บริเวณพื้นผิวพระจะมีลักษณะขรุขระคล้ายเม็ดผดขนาดเล็ก ปูดนูนจากข้างในออกสู่ข้างนอกทั่วองค์พระ (ลักษณะคล้ายๆกับคราบกรุของพระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเจดีย์เล็ก) อีกทั้งยังมีตุ่มไขคล้ายเนยเหลว ซึ่งมีทั้งสีขาวและสีเหลืองแต่แข็งมาก เกาะติดอยู่ตามพื้นผิวพระมากบ้างน้อยบ้าง ตุ่มเล็กบ้างตุ่มใหญ่บ้าง กระจายปะปนกันอยู่บนพื้นผิวพระชั้นนอกประกอบกันไปด้วย โดยรวมหากนำพระแท้ และ พระปลอมมาเปรียบเทียบกัน ก็จะเห็นถึงความแตกต่างระหว่างคราบกรุ ว่ามีความแตกต่างและห่างไกลกันอยู่มาก แต่เพื่อความปลอดภัยสำหรับท่านที่มีความสนใจ หรือกำลังแสวงหาพระพิมพ์สมเด็จอรหัง (เกศชนซุ้ม) ของกรุวัดนี้ จึงสมควรมีสติระมัดระวัง และพิจารณาให้ถี่ถ้วนรอบคอบในทุกมิติ ทั้งองค์ประกอบทางด้านขอบพิมพ์ ลักษณะของคราบกรุ ตลอดจนธรรมชาติของพระกรุนี้ให้แม่นยำ ก่อนที่จะทำการตัดสินใจเช่าบูชาในแต่ละครั้ง หรือหากท่านใดมีข้อสงสัย ต้องการจะปรึกษากับผู้เขียนเพิ่มเติม เกี่ยวกับพระสมเด็จ กรุวัดชนะสงคราม กทม. สามารถส่งข้อความสอบถามมาได้ที่ Line Id : tustk ผู้เขียนพร้อมให้คำปรึกษาแนะนำต่อทุกท่านด้วยความยินดี. 

ใบรับรองพระแท้ ออกโดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย  
ใบรับรองพระแท้ ออกโดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
 

 

 

 

 

 

ใบประกาศพระ
 
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เกศชนซุ้ม  กรุวัดชนะสงคราม
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เกศชนซุ้ม กรุวัดชนะสงคราม (ติดรางวัลที่ 2)

 

ใบประกาศพระ
 
พระสมเด็จอรหังพิมพ์พิเศษเกศชนซุ้ม  กรุวัดชนะสงคราม
พระสมเด็จอรหังพิมพ์พิเศษเกศชนซุ้ม กรุวัดชนะสงคราม (ติดรางวัลที่ 3)


เกร็ดความรู้เพิ่มเติม : ไขข้อข้องใจ + ความจริงที่ถูกปกปิดมานาน!

 

เนื่องจาก มีผู้ที่ชื่นชอบและศรัทธาในพระกรุเนื้อผงหลายท่าน เกิดความสงสัยข้องใจเกี่ยวกับพระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม ซึ่งขุดค้นพบจากใต้ฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถวัดชนะสงครามเมื่อปี พ.ศ.2515 จึงได้ติดต่อสอบถามเข้ามาว่า

 

ถาม : "....พระสมเด็จดังกล่าว เป็นพระกรุเก่าอายุเกือบ 200 ปีของวัดชนะสงคราม กทม.จริง หรือเป็นพระสมเด็จยุคใหม่อายุไม่เกิน 50 ปี ที่ทางวัดป่าเรไร ต.บางศรีเมือง อ.เมือง จ.นนทบุรี เป็นผู้สร้างขึ้นกันแน่ ???... "

 

ตอบ : จากบันทึกข้อมูลเอกสารที่ทางคณะสงฆ์วัดชนะสงครามได้จัดพิมพ์หนังสือขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 เพื่อแจกให้กับพระภิกษุ สามเณร และประชาชน (ตามรูป)

 

BOOK2

 

ในบันทึกดังกล่าว ได้กล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2515 ภายหลังจากเสร็จสิ้นงานเทศน์มหาชาติประจำปีไปหมาดๆ และได้มีการแจกพระสมเด็จกรุวัดชนะสงครามให้กับผู้ที่เป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ไปบ้างแล้วบางส่วน (ตามรูป) 

 

BOOK2

 

ผู้เขียนขอพักเรื่องซึ่งเกิดขึ้นที่วัดชนะสงครามในคืนวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2515 ไว้ชั่วคราวก่อนและจะกลับมากล่าวถึงอีกครั้งในตอนท้าย

 

ลองมาดูข้อมูลทางด้านวัดป่าเรไร ต.บางศรีเมือง อ.เมือง จ.นนทบุรี กันบ้าง....จากข้อมูลทั่วไป วัดป่าเรไรเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกลายสภาพเป็นวัดร้างมาตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาไปในคราวนั้น ต่อมาในราววันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2515 หรือก่อนหน้านั้น  พระอธิการหอมหวล นาคศิริ (คนฺธสิริ) ได้เดินทางมาบูรณะวัดป่าเรไรซึ่งอยู่ในสภาพวัดร้าง  และได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้จนถึงปีพ.ศ.2521 จีงได้มรณภาพลง......พระอธิการหอมหวล นาคศิริ (คนฺธสิริ) เป็นใคร? มาจากไหน?....พระอธิการหอมหวล นาคศิริ (คนฺธสิริ) เดิมท่านเป็นพระสงฆ์ในสังกัดวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (หรือวัดโพธิ์ ท่าเตียน กทม.) เพราะท่านได้เข้ารับการอุปสมบทอยู่ที่วัดนี้ รายละเอียดตามรูปและ Link ด้านล่าง 

 

Wiki

 

คลิ๊กลิงค์เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม :   ข้อมูลประวัติพระอธิการหอมหวล นาคศิริ (คนฺธสิริ)



ลำดับเหตุการณ์เชื่อมโยง :

 

 

1. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2515 = วัดป่าเรไร ต.บางศรีเมือง อ.เมือง จ.นนทบุรี ได้ยกฐานะจากวัดร้างขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา โดยมีพระอธิการหอมหวล นาคศิริ (คนฺธสิริ) เป็นเจ้าอาวาสพระอธิการรูปแรกของวัด ระหว่างนั้นท่านยังคงติดต่อกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กทม. อย่างสม่ำเสมอ (วัดป่าเรไร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2523 ภายหลังจากที่พระอธิการหอมหวล นาคศิริ (คนฺธสิริ) ได้มรณภาพลงแล้ว)

 

2. วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2515 = เปิดกรุพระสมเด็จใต้ฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถวัดชนะสงคราม (คนที่มาทำบุญเลี้ยงเพลพระเณร และ กลุ่มคนงาน ได้หยิบพระไปบางส่วน)

 

3. วันที่ 1-2 กันยายน พ.ศ.2515 = วันงานเทศน์มหาชาติประจำปี (นำพระบางส่วนออกแจกประชาชนที่มาฟังเทศน์ที่วัดชนะสงคราม)

 

4. วันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2515 = เวลา 21.00 น. ( 3 ทุ่ม ) ท่านพระครูสุนทรโฆษิต (แจ่ม) วัดพระเชตุพนฯ กทม.(วัดโพธิ์ ท่าเตียน) และคณะผู้ติดตามซึ่งมีทั้งพระสงฆ์และฆราวาส มาเข้าพบพระธรรมปิฏก (นิยม ฐานิสฺสโร) ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในขณะนั้น *** สันนิษฐานว่า พระอธิการหอมหวล นาคศิริ (คนฺธสิริ) น่าจะเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่งที่ร่วมมากับคณะผู้ติดตามท่านพระครูสุนทรโฆษิต (แจ่ม) ในคืนวันนั้น และน่าจะได้รับแจกพระสมเด็จกรุวัดชนะสงครามกลับไปบางส่วนอีกด้วย ***

 


บทสรุปส่งท้าย :

 

จากข้อมูลเชิงลึกของคนเก่าแก่ในพื้นที่ซึ่งรู้เห็นเหตุการณ์ได้เล่าว่า ในช่วงเวลาก่อนที่จะมีการแจกพระสมเด็จกรุวัดชนะสงครามที่วัดป่าเรไรประมาณ 1 เดือน เวลาบ่ายแก่ๆวันหนึ่ง มีรถแท๊กซี่ขับมาจอดบริเวณหอนาฬิกาตรงท่าน้ำทางลงเรือข้ามฟากจังหวัดนนทบุรี และได้เห็นพระอธิการหอมหวลพร้อมด้วยลูกศิษย์ซึ่งเป็นฆราวาสเดินลงมาจากรถแท๊กซี่ ในมือได้ถือลังกระดาษสำหรับใส่สุรายี่ห้อแม่โขงมาประมาณ 2 - 3 ลัง ถือลงเรือข้ามฟากไปอย่างทุลักทุเล โดยไม่มีใครรู้ว่าในลังกระดาษนั้นมีอะไร แต่พอจะคาดเดาได้ว่าต้องเป็นสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก

 

ต่อมา ที่วัดป่าเรไรเริ่มมีประชาชนเดินทางมาร่วมทำบุญบริจาคทุนทรัพย์พัฒนาวัด ท่านพระอธิการหอมหวลจึงได้ทยอยนำพระเครื่องพิมพ์สมเด็จออกมาแจกให้กับญาติโยม แต่พระเครื่องที่ท่านแจกไม่มีความสวยงามเลย เป็นเพียงพระเขลอะๆ บางคนสงสัยจึงถามท่านว่าเป็นพระอะไร ท่านก็ตอบว่าเป็นพระดีให้เอาเก็บไว้บูชาดีๆ (บอกแค่นั้นแล้วก็ไม่พูดอะไร) ส่วนประชาชนที่ได้รับพระแจก มีทั้งกลุ่มที่เป็นประชาชนทั่วไปที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง (กลุ่มหนึ่ง) กลุ่มที่เป็นผู้ที่นิยมสะสมพระเครื่อง (กลุ่มหนึ่ง) กลุ่มที่เป็นเซียนพระ (กลุ่มหนึ่ง) และกลุ่มที่เป็นผีสนาม (อีกกลุ่มหนึ่ง)

 

นิยามศัพท์ : "ผีสนาม" หมายถึง คนที่ค้าขายพระเครื่อง แต่ดูพระแท้ - ปลอมไม่ขาด แล้วชอบมโนไปว่าตนเองนั้นเป็นเซียนพระ รู้มากรู้มายรู้หมื่นรู้แสน จากนั้นก็เอาพระปลอมไปหลอกขายให้กับผู้อื่น.

 

คนกลุ่มแรกที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง พอกลับถึงบ้านก็เอาพระวางไว้บนหิ้งแล้วก็จบกันไป ให้พระเครื่องมาก็รับหรือจะไม่ให้ก็ไม่ว่าอะไร ใจคิดแต่จะทำบุญอย่างเดียว คนกลุ่มนี้ผู้เขียนขอผ่านไม่กล่าวถึง

 

ส่วนคนกลุ่มที่สอง คนกลุ่มที่สาม และคนกลุ่มที่สี่นี้น่าสนใจ เพราะปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากคนสามกลุ่มนี้ หลังจากได้รับแจกพระสมเด็จจากท่านพระอธิการหอมหวล นาคศิริ (คนฺธสิริ) คน 3 กลุ่มนี้ก็ได้แวะเวียนมาจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับพระเครื่องที่ได้รับแจกกันที่ร้านกาแฟแห่งหนึ่ง ซึ่งร้านกาแฟนี้อยู่ในตลาดฝั่งหอนาฬิกาท่าน้ำนนท์ (แค่นี้พอ หากเขียนมากกว่านี้จะรู้ทันทีว่าร้านไหน) บ้างก็วิจารณ์ว่าเป็นพระกรุอายุเป็นร้อยๆปี ที่พระอธิการหอมหวลขุดได้จากวัดป่าเรไรตอนที่ยังเป็นวัดร้าง เพราะมีคราบฝุ่นดินติดอยู่บางๆในพระบางองค์ บ้างก็บอกว่าไม่ใช่ เป็นพระเครื่องที่พระอธิการหอมหวลสร้างขึ้นเอง แล้วเอาไปแช่น้ำมนต์แบบพระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ต่างฝ่ายต่างมโนภาพทุ่มเถียงกันไปมาอย่างเมามัน แล้วก็จบลงตรงหาบทสรุปไม่ได้

 

เหตุการณ์ตอนนั้นเป็นแบบนี้อยู่พักหนึ่ง แล้วก็เงียบกันไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง คนกลุ่มที่เป็นเซียนพระและคนกลุ่มที่เป็นผีสนามก็เลิกสนใจ ย้ายไปเพลิดเพลินกับพระเครื่องอย่างอื่นซึ่งกำลังมาแรงในช่วงปี พ.ศ.2515 แทน ส่วนคนกลุ่มที่เป็นนักสะสมพระเครื่องไม่ยอมจบ ยังคงตามสืบแกะรอยหาเบาะแสที่มาที่ไปของพระสมเด็จอย่างเงียบๆต่อไป จนบางคนเริ่มรู้ระแคะระคายว่าความจริงเป็นพระของที่ไหน ก็ดำเนินการซุ่มเก็บแบบเงียบๆไม่กะโตกกะตากกลัวไก่ตื่น ทั้งขอ ทั้งแลก ทั้งตามซื้อ ไปเรื่อยแล้วแต่โอกาสจะอำนวย

 

ผู้เขียนได้ศึกษาและสะสมพระเครื่องมานานกว่า 30 ปี พอจะมีประสบการณ์อยู่บ้าง และจากการสืบค้นทำให้รู้ความจริงเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 แล้วว่า พระสมเด็จที่พระอธิการหอมหวลนำออกมาแจกในปี พ.ศ.2515 นั้น ความจริงเป็นพระสมเด็จที่เพิ่งจะแตกกรุซึ่งท่านนำมาจากวัดชนะสงคราม ไม่ใช่พระเครื่องสร้างใหม่แช่น้ำมนต์ตามที่คนบางกลุ่มเพ้อกันไปเอง และยังมีพระสมเด็จบางส่วนที่เหลือจากการแจกในตอนนั้น ท่านพระอธิการหอมหวลได้นำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์เก่าภายในวัดป่าเรไร ต่อมาภายหลังจากที่ท่านพระอธิการหอมหวลได้มรณะภาพลงแล้ว ในช่วงเวลาที่ทางวัดป่าเรไรได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2523) ทางวัดก็ได้มีการนำพระเครื่องออกมาจากพระเจดีย์ เพื่อนำมาแจกให้กับผู้ที่ร่วมทำบุญพัฒนาวัดอีกครั้ง จนพระเครื่องนั้นได้หมดไปจากวัด. 


แนะนำหนังสือดีที่ผู้ศึกษาและสะสมพระเครื่องควรมี :

 

BOOK3

 

namesgold

วันเสาร์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก

พุทธศักราช ๒๕๕๙ 

 

 

i163018021 98954 3

 

 

BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll
WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers
free web counter