Prakard2


buttonclick2

 

head-3

พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง

 

 

พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง กำแพงเพชร

พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง จ.กำแพงเพชร
 

ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงองค์ที่ 5 พระองค์ทรงฝักใฝ่ในการส่งเสริมและทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยให้ความสำคัญยิ่งกว่าการทหาร พระองค์ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่าง ๆ ที่เมืองกำแพงเพชรเกือบทั้งหมด โดยมีหลักฐานในศิลาจารึกนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร หลักที่ 3 ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1-8 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีและอักษรศาสตร์ กรมศิลปากร ได้แปลออกมาเป็นภาษาไทยว่า


...ในปี พ.ศ. 1900 วันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา พระยาลิไท หลานของพระยายมราชเสวยราชย์ในเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัย ในปีนั้นพระองค์ทรงได้สถาปนาพระมหาธาตุในเมืองนครชุม พร้อมทั้งนำพระบรมธาตุอันเชิญมาจากลังกาทวีปมาบรรจุไว้ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์...ฯลฯ (ศิลาจารึกดังกล่าว อยู่ที่หอสมุดวชิรญาน ในหอสมุดแห่งชาติ กทม.) จึงสันนิษฐานกันว่า พระซุ้มกอ น่าจะถูกสร้างขึ้นในคราวนั้น แล้วบรรจุลงไว้ในพระเจดีย์พร้อมกันกับพระบรมธาตุซึ่งอัญเชิญมาจากลังกาทวีป โดยพระมหาธรรมราชาลิไทเป็นผู้สร้าง

มูลเหตุในการแตกกรุหรือพบพระซุ้มกอ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2392 โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร และได้พบศิลาจารึกที่วัดเสด็จ (วัดในเมือง) หลังจากที่ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ได้ทำการแปลข้อความในศิลาจารึกจึงทราบว่า มีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อยู่บริเวณเมืองเก่า 3 องค์ ภายในวัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ซึ่งขณะนั้นพระยากำแพงเพชร (น้อย) เป็นผู้ว่าราชการเมือง เมื่อได้ทราบข่าวจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ จึงทำการสำรวจค้นหาพระเจดีย์ดังกล่าวจนพบ แล้วประกาศบอกบุญราษฎรให้ช่วยกันปฏิสังขรณ์

ต่อมาพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองแทนผู้ว่าราชการเมืองคนเดิม (น้อย) ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีเศรษฐีชาวกะเหรี่ยงชื่อ “แซงพอเกรี่ยง” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “พญาตะก่า” ได้ขออนุญาตจากทางราชการ เพื่อทำการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ โดยได้นำช่างก่อสร้างมาจากเมืองพม่า จากนั้นได้ทำการรื้อถอนพระเจดีย์ 3 องค์ แล้วสร้างใหม่รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จพญาตะก่าก็เสียชีวิตก่อน พะโป๊ะและนางทองย้อยจึงทำการบูรณะต่อจนเสร็จสมบูรณ์ในที่สุด

ในช่วงเวลาก่อนที่พญาตะก่ายังไม่เสียชีวิต เมื่อทำการรื้อถอนพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์นั้นได้พบพระบรมสารีริกธาตุใส่อยู่ในภาชนะรูปสำเภาเงิน 9 องค์ (ตรงตามที่ระบุไว้ในศิลาจารึกทุกประการ) นอกจากนี้ยังได้พบพระเครื่องแบบพิมพ์ต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก มีทั้งพระเนื้อว่าน , เนื้อดิน และเนื้อชิน พร้อมทั้งแผ่นลานเงินจารึกอักษรขอม กล่าวถึงที่มาของการสร้างพระพิมพ์และพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ รวมทั้งใช้วิธีการบูชาพระธาตุด้วย

 

พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง กำแพงเพชร

ลักษณะของพระซุ้มกอ พิมพ์กลาง จังหวัดกำแพงเพชร

 

ศิลปะพิมพ์พระ : พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง จ.กำแพงเพชร มีลักษณะเป็นพระปางสมาธิราบ ศิลปะเชียงแสนผสมสุโขทัย องค์พระอวบ พระอุระผึ่งนูนแบบพระเชียงแสน พระนาภีเรียว พระพาหาประสานทับกันขัดสมาธิแบบสุโขทัย มีประภาสมณฑลรอบพระเศียร เพียงแต่พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง แม่พิมพ์จะตื้นไม่ลึกและคมชัดเท่ากับพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ลายกนกข้างองค์พระจึงไม่เด่นชัดเหมือนกับพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่

 

เนื้อพระ : เป็นพระเนื้อดินเผาซึ่งมีความแกร่งพอสมควร องค์ประกอบในเนื้อพระมีน้ำมันจากว่าน , แร่ธรรมชาติศักดิ์สิทธิ์ และผงเกสรดอกไม้ เท่าที่พบสามารถจำแนกสีขององค์พระได้ 5 สี คือ สีดำ , สีแดง , สีเหลืองพิกุลแห้ง , สีเขียว และสีน้ำตาลเข้มตุ่น ๆ (เหมือนสีของกะปิ) ทั้งนี้เนื่องจากการถูกความร้อนในขณะเผาไม่เท่ากัน จึงทำให้สีและขนาดของพระซุ้มกอในแต่ละองค์แตกต่างกันออกไป

 

i163018021 98954 3 

 

BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll
WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers
free web counter