Prakard2

buttonclick2

 

head-7

พระขุนแผน กรุวัดเหนือ จ.กาญจนบุรี

พระขุนแผนพิมพ์กลาง กรุวัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
(พระประกวดติดรางวัลที่ 3 งานเวทีใหม่สวนอัมพร 
วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2543)
 

 

วัดเทวสังฆาราม หรือ วัดเหนือ เป็นวัดที่เก่าแก่ และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์วัดหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง ฯ จังหวัดกาญจนบุรี สันนิษฐานกันว่า วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จนกระทั้ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาแตกเป็นครั้งที่สอง และได้กวาดต้อนผู้คน ตลอดจนทรัพย์สินของคนไทยกลับไปพม่า ในคราวนั้น สามเณรเปรื่อง ได้ถูกกวาดต้อนไปพม่าด้วยเช่นกัน ต่อมาสามเณรเปรื่องได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่พม่า และได้หลบหนีกลับมาเมืองไทยพร้อมพรรคพวกอีกประมาณ ๕ - ๖ คน เมื่อกลับมาถึงเมืองไทยจึงพบว่า ทางการไทยได้ย้ายเมืองกาญจนบุรี ไปตั้งใหม่ที่ตำบลปากแพรก ซึ่งอยู่ใกล้กันกับวัดเหนือซึ่งขณะนั้นมีสภาพเป็นวัดร้าง เพราะถูกพม่าเผาทำลายในช่วงเวลาที่เสียกรุงฯ พระเปรื่องจึงได้มาทำการบูรณะวัดเหนือ และเป็นสมภารอยู่ที่วัดเหนือแห่งนี้นับแต่เวลานั้นเป็นต้นมา

วัดเทวสังฆาราม หรือ วัดเหนือ ได้รับพระบรมราชานุเคราะห์มาโดยลำดับ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๗๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างวัดและปฏิสังขรณ์พระอารามในเขตเมืองกาญจนบุรีห้าแห่ง สันนิษฐานกันว่า วัดเทวสังฆารามเป็นหนึ่งในห้าพระอารามดังกล่าว ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาที่วัดเทวสังฆาราม ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าโบสถ์เก่านั้นชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้มีพระราชดำรัสให้พระยากาญจนบุรี นำเงินส่วยในเมืองกาญจนบุรีไปซ่อมแซมพระอุโบสถนั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระองค์ได้เสด็จวัดเทวสังฆารามอีกครั้ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ช่างกำลังรื้อโบสถ์เก่าเพื่อสร้างใหม่ พระองค์จึงได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์อีกเป็นจำนวน ๑๐ ชั่ง เพื่อช่วยในการก่อสร้าง

สำหรับพระอุโบสถหลังปัจจุบัน เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งขณะนั้น พระเทพมงคลรังษี(หลวงพ่อดี) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเหนือและตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ได้สั่งให้ดำเนินการขุดเจาะพระเจดีย์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยสมภารเปรื่อง เพื่อทำการเก็บบรรจุพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษที่ได้รับมอบมาไว้ในองค์พระเจดีย์ในปี พ.ศ.2506 เมื่อทำการขุดเจาะเป็นโพรงขนาดกว้างประมาณ 2 ศอกพอที่คนจะลอดเข้าไปได้ พบว่าภายในพระเจดีย์นั้นอัดแน่นไปด้วยทรายละเอียดบรรจุอยู่ จึงได้ขนทรายออกมาจากองค์พระเจดีย์จนหมดสิ้น และได้พบไหเคลือบสีดำใบหนึ่ง ซึ่งภายในได้บรรจุพระเครื่องพิมพ์ทรงต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก และที่ใต้ไหยังพบพระศิลาแลงชำรุด ฝังล้อมรอบไว้อีกจำนวน 4 - 5 องค์ บริเวณตรงกลางนั้น ยังมีพระเครื่องต่างๆ ฝังปนอยู่กับทรายอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อทางวัดได้ขนพระเครื่องออกมาจากพระเจดีย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พบว่ามีพระเครื่องในพิมพ์ทรงต่างๆ กัน ดังนี้

1.พระหลวงพ่อโบ้ เนื้อดินเผาปิดทอง

2.พระปรุหนังฐานธรรมดา เนื้อชินปิดทอง

3.พระปรุหนังฐานขาโต๊ะ เนื้อชิน

4.พระปรุหนังองค์พระใหญ่ เนื้อชินปิดทอง

5.พระอู่ทองฐานบัว เนื้อชิน เกศคดขวา ฐานบัว

6.พระอู่ทองเศียรจักร เนื้อชินปิดทอง

7.พระอู่ทองพิมพ์เล็ก (องค์พระเล็ก) เนื้อชินปิดทอง

8.พระอู่ทองพิมพ์ใหญ่ (องค์พระใหญ่) เนื้อชินปิดทอง ไม่มีฐาน

9.พระอู่ทองมือซ้าย เนื้อชิน ปิดทองเฉพาะฐานผ้าทิพย์ ฐานสูง

10.พระขุนแผนพิมพ์เล็ก เนื้อชิน

11.พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ เนื้อชิน

12.พระท่ากระดานหูช้าง เกศคดขวา เนื้อชิน ฐานลายตะแกรง

13.พระท่ากระดานหูช้าง กรอบผนังสามเหลี่ยม เนื้อชิน

14.พระตรีกาย เนื้อชินเงิน

15.พระสมัยทวารวดีขนาดเล็กปางปฐมเทศนา เนื้อดินเผา

16.พระสมัยทวารวดีขนาดใหญ่ปางปฐมเทศนา เนื้อดินเผาลักษณะของพระคง จังหวัดลำพูน

 

ด้านหลังพระขุนแผน กรุวัดเหนือ จ.กาญจนบุรี

 

นอกจากนี้ ยังพบ พระท่ากระดาน พระโคนสมอ ท้าวมหาชมพู พระชัย (พระงั่ง) ด้วย จากจำนวนพระเครื่องที่พบทั้งหมด มีพระท่ากระดานประมาณ 30 องค์ พระท่ากระดานหูช้างประมาณ 800 องค์ พระขุนแผนเรือนแก้วประมาณ 200 องค์ พระอู่ทองเศียรจักรประมาณ 10 องค์ พระอู่ทองทั้ง 3 แบบประมาณแบบละ 50 องค์ พระอู่ทองมือซ้ายประมาณ 25 องค์ พระปรุหนังที่สมบูรณ์ประมาณ 10 องค์ ชำรุดประมาณ 10 องค์ หลวงพ่อโตประมาณ 5 องค์ พระทวารวดีอย่างละ 1 องค์ พระชัยประมาณ 10 องค์ และพระโคนสมอประมาณ 100 องค์

ต่อมา เมื่อพระเทพมงคลรังษี(หลวงพ่อดี พุทธโชติ) อดีตเจ้าอาวาสได้มรณภาพลง ทางวัดจึงได้ทำการขุดเจาะพระเจดีย์องค์เดิมอีกครั้ง เพื่อนำพระเครื่องของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธโชติ) ซึ่งท่านเคยได้บรรจุไว้ในกรุพระเจดีย์สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ โดยทำการขุดทางด้านทิศตะวันตกของเจดีย์ ซึ่งเป็นฝั่งตรงกันข้ามกับการขุดเจาะในครั้งแรก(พ.ศ.2506) จึงเป็นมูลเหตุของการพบพระพิมพ์สมัยอยุธยาตอนต้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งพบพระเครื่องหลากหลายพิมพ์ทรง เพียงแต่มีจำนวนที่น้อยกว่าตอนที่เปิดกรุในครั้งแรก ในคราวนั้น คณะกรรมการควบคุมการขุดมีทั้งที่เป็นฆราวาส และบรรพชิต ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายบรรพชิต ได้แก่ พระครูปลัดอรรถจริยานุกิจ พระครูสิงคีคุณธาดา และพระครูปลัดสนั่น ปญญฺธโร ส่วนในฝ่ายฆราวาส มี พ.อ. (พิเศษ) สัมผัส ภาสนยิ่งภิญโญ พ.ท.สุนทร และนายทหารอีก 3 นาย ร่วมกับคณะกรรมการของวัด คือ นางประสงค์ เจริญพิบูลย์ นายแพทย์เกษม ภังคานนท์ นายวิเชียร กระแจะจันทร์ นายทองหล่อ มณีวงษ์ นายเชื้อ คงกำเนิด นายเก็บ พลอยศิลา และ นายศิลป ศิริเวชภัณฑ์ โดยได้ทำการเปิดกรุครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2511 เวลา 06.30 น.

และในวันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ.2551 พระครูอนุกูลกาญจนกิจ รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเหนือ ได้สั่งช่างให้ทำการปรับแต่งพื้นที่ เพื่อปรับภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบของวัด โดยเฉพาะในส่วนของโบสถ์เก่าและหน้าเมรุ สำหรับเตรียมพื้นที่จัดงานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระราชมงคลโมฬี เจ้าอาวาสรูปเก่าซึ่งมรณภาพลง ขณะที่รถแทรกเตอร์กำลังทำงาน ได้ขุดดันพื้นที่บริเวณโดยรอบพระเจดีย์องค์เก่า ซึ่งสร้างไว้ตั้งแต่สมัยเริ่มก่อตั้งเมืองกาญจนบุรี ตรงบริเวณด้านหลังของโบสถ์ เมื่อรถแทรกเตอร์ทำการขุดลึกลงไปใต้ดินประมาณ 60 เซนติเมตร จึงได้พบพระเครื่องชนิดต่างๆ เช่น พระท่ากระดานหูช้าง พระขุนแผนเนื้อชิน และเนื้อตะกั่ว, พระสมัยอู่ทอง, พระของหลวงปู่ดี (อดีตเจ้าอาวาส) และเครื่องลายครามสมัยสงครามโลก รวมทั้งเครื่องราง เบี้ยแก้ ที่สร้างขึ้นทั้งในสมัยก่อน และในสมัยที่หลวงปู่ดีดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสปะปนกัน เมื่อรวมกันแล้วมีที่จำนวนมากพอสมควร ทางวัดจึงได้นำเอาวัตถุมงคลที่พบทั้งหมด มาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์เทพมงคลรังษี ก่อนทำการฝังกลบหลุมดังกล่าว จึงเป็นมูลเหตุของการพบพระกรุโดยบังเอิญอีกเป็นครั้งที่ 3


ลักษณะของพระขุนแผนสนิมแดง กรุวัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) จ.กาญจนบุรี

 

ศิลปะพิมพ์พระ : เป็นพระศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น มีอายุการสร้างไม่ต่ำกว่า 500 ปี ลักษณะเป็นพระปางสะดุ้งมาร(มารวิชัย) ซุ้มเรือนแก้ว ประทับนั่งบนอาสนะฐานสองชั้น(ก้างปลา) มีผ้าทิพย์อยู่ตรงกลางระหว่างฐานสองชั้น รูปทรงห้าเหลี่ยมด้านหลังเรียบ ในวงการพระเครื่องเรียก พระขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว ปางสะดุ้งมาร ฐานสองชั้นนี้ว่า " พระขุนแผนพิมพ์กลาง " หากเป็นปางสมาธิ ซุ้มเรือนแก้ว ฐานสองชั้น จะเรียกกันว่า " พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ " แต่ถ้าเป็นพระขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว ปางสะดุ้งมาร ฐานหมอนสองชั้นไม่มีผ้าทิพย์อยู่ตรงกลางระหว่างฐาน จะเรียกกันว่า "พระขุนแผนพิมพ์เล็ก " เป็นต้น

เนื้อพระ : เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง

 ใบประกาศพระ

i163018021 98954 3

 

BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll
WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers
free web counter